สมัยแห่งชั้นยศและการยกเลิก (สมัยรัชกาลที่ 6 - พ.ศ. 2485) ของ ยศข้าราชการทหารและพลเรือนของสยาม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ทรงเครื่องแบบปกติยศมหาเสวกเอก แผงพระศอสีดำ ลายปักดิ้นทอง พร้อมดาราสีทองบอกชั้นยศ

ในยุคสมัยนี้เป็นสมัยที่มีการกำหนดชั้นยศมากที่สุด รวมถึงแบ่งย่อยยศข้าราชการในราชสำนักออกเป็นหลายชั้น และใช้ไปจนถึงการยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2485 รวมถึงการเปลี่ยนคำว่านายทัพให้เป็นจอมพล นายทัพเรือให้เป็นจอมพลเรือในกองทัพเรือ

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ติดอินทรธนูมหาอำมาตย์นายกในเครื่องแบบเต็มยศขาว อินทรธนูเป็นลายปักดิ้นทองทั้งแผ่นรูปช่อชัยพฤกษ์ พื้นอินทรธนูสีดำ พร้อมเครื่องหมายจักรด้ามสอดกับตรีสีเงินไขว้กัน (จักรี)
ลำดับที่ทหารบกทหารเรือตำรวจพลเรือนกระทรวงวัง
และกรมขึ้น
กรมพระ
ตำรวจหลวง
รักษาพระองค์
กรมมหาดเล็กกองเสือป่า/กองลูกเสือกองเรือท่าเกษม
1จอมพล

(Field marshal)

จอมพลเรือ

(Admiral of the Fleet)

-มหาอำมาตย์นายก

(Prime minister)

-----
2นายพลเอก

(General)

นายพลเรือเอก

(Admiral)

นายพลตำรวจเอก

(Police general)

มหาอำมาตย์เอก

(Minister)

มหาเสวกเอก

(Lord steward)

พระตำรวจเอก

(Lord high constable)

จางวางเอก

(Lord great chamberlain)

--
3นายพลโท

(Lieutenant general)

นายพลเรือโท

(Vice admiral)

นายพลตำรวจโท

(Police lieutenant general)

มหาอำมาตย์โท

(Secretariat)

มหาเสวกโท

(Steward)

พระตำรวจโท

(Chief of palace guard)

จางวางโท

(Lord chamberlain)

--
4นายพลตรี

(Major general)

นายพลเรือตรี

(Rear admiral)

นายพลตำรวจตรี

(Police major general)

มหาอำมาตย์ตรี

(Chancellor)

มหาเสวกตรี

(Keeper)

พระตำรวจตรี

(Deputy chief of palace guard)

จางวางตรี

(Vice chamberlain)

--
5-นายพลเรือจัตวา

(Commodore)

-----นายกองใหญ่/นายพลเสือป่า

(Captain general)

นายกองเรือใหญ่

(Captain general of Navy)

6นายพันเอก

(Colonel)

นายนาวาเอก

(Captain)

นายพันตำรวจเอก

(Police colonel)

อำมาตย์เอก

(Director)

เสวกเอก

(Master of the Household)

ขุนตำรวจเอก

(Director of palace guard)

หัวหมื่น

(Page director)

นายกองเอก

(Wild Tiger colonel)

นายกองเรือเอก

(Captain)

7นายพันโท

(Lieutenant colonel)

นายนาวาโท

(Commander)

นายพันตำรวจโท

(Police lieutenant colonel)

อำมาตย์โท

(Governor)

เสวกโท

(Deputy master)

ขุนตำรวจโท

(Deputy director of palace guard)

รองหัวหมื่น

(Deputy page director)

นายกองโท

(Wild Tiger lieutenant colonel)

นายกองเรือโท

(Commander)

8นายพันตรี

(Major)

นายนาวาตรี

(Lieutenant commander)

นายพันตำรวจตรี

(Police major)

อำมาตย์ตรี

(Chief)

เสวกตรี

(Treasurer)

ขุนตำรวจตรี

(Palace guard)

จ่า

(Comptroller)

นายกองตรี

(Wild Tiger major)

นายกองเรือตรี

(Lieutenant commander)

9นายร้อยเอก

(Captain)

นายเรือเอก

(Lieutenant)

นายร้อยตำรวจเอก

(Police captain)

รองอำมาตย์เอก

(Prefect)

รองเสวกเอก

(Administrator)

นายตำรวจเอก

(Chief of bodyguard)

หุ้มแพร

(Clapper)

นายหมวดเอก

(Wild Tiger captain)

นายหมวดเรือเอก

(Lieutenant)

10นายร้อยโท

(Lieutenant)

นายเรือโท

(Sub-lieutenant)

นายร้อยตำรวจโท

(Police lieutenant)

รองอำมาตย์โท

(Assistant)

รองเสวกโท

(Files officer)

นายตำรวจโท

(Deputy chief of bodyguard)

รองหุ้มแพร

(Vice clapper)

นายหมวดโท

(Wild Tiger lieutenant)

นายหมวดเรือโท

(Sub-lieutenant)

11นายร้อยตรี

(Second lieutenant)

นายเรือตรี

(Ensign)

นายร้อยตำรวจตรี

(Police second lieutenant)

รองอำมาตย์ตรี

(Deputy assistant)

รองเสวกตรี

(Service officer)

นายตำรวจตรี

(Bodyguard)

มหาดเล็กวิเศษ

(Royal page)

นายหมวดตรี

(Wild Tiger second lieutenant)

นายหมวดเรือตรี

(Ensign)

12ว่าที่นายร้อยตรี

(Acting second lieutenant)

ว่าที่นายเรือตรี

(Acting ensign)

ว่าที่นายร้อยตำรวจตรี

(Acting police second lieutenant)

ว่าที่รองอำมาตย์ตรี

(Acting deputy assistant)

ว่าที่รองเสวกตรี

(Acting service officer)

ว่าที่นายตำรวจตรี

(Acting bodyguard)

มหาดเล็กสำรอง

(Reserve royal page)

ว่าที่นายหมวดตรี

(Acting Wild Tiger second lieutenant)

ว่าที่นายหมวดเรือตรี

(Acting ensign)

13-------นายหมู่ใหญ่

(Wild Tiger third lieutenant)

-
14นายดาบ

(Sergeant major)

-นายดาบตำรวจ

(Police senior sergeant major)

ราชบุรุษ

(King's man)

-----
15จ่านายสิบ

(Master sergeant)

พันจ่าเอก

(Warrant officer class one)

จ่านายสิบตำรวจ

(Police sergeant major)

-จ่าพันทนาย

(Flag sergeant)

นายหมู่ใหญ่

(Grand serjeanty)

พันจ่าเด็กชา

(Master errand)

--
16-พันจ่าโท

(Warrant officer class two)

-------
17-พันจ่าตรี

(Chief petty officer)

-------
18นายสิบเอก

(Sergeant)

จ่าเอก

(Petty officer)

นายสิบตำรวจเอก

(Police sergeant)

-พันทนายเอก

(Judge)

นายหมู่เอก

(Serjeanty)

พันเด็กชาเอก

(Housekeeper)

นายหมู่เอก

(Wild Tiger sergeant)

-
19นายสิบโท

(Corporal)

จ่าโท

(Leading rating)

นายสิบตำรวจโท

(Police corporal)

-พันทนายโท

(Consultant)

นายหมู่โท

(Palace corporal)

พันเด็กชาโท

(Homemaker)

นายหมู่โท

(Wild Tiger corporal)

-
20นายสิบตรี

(Lance corporal)

จ่าตรี

(Able seaman)

นายสิบตำรวจตรี

(Police lance corporal)

-พันทนายตรี

(Attorney)

นายหมู่ตรี

(Escort)

พันเด็กชาตรี

(Cleaner)

นายหมู่ตรี

(Wild Tiger lance corporal)

-
21พลทหาร

(Private)

พลทหารเรือ

(Ordinary seaman)

พลตำรวจ

(Police constable)

-พันทนาย

(Lawyer)

พลตำรวจ

(Palace constable)

เด็กชา

(Errand)

พลเสือป่า

(Wild Tiger corp)

-

1.ชั้นยศมหาอำมาตย์นายกมีผู้ได้รับพระราชทานเพียงแค่ 2 คนคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สขุม) พระราชทานพร้อมกันเมื่อปี พ.ศ. 2461

2.ชั้นยศนายกองใหญ่ เป็นยศเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งยศนายพลเสือป่าขึ้นแทน และได้พระราชทานยศนายพลเสือป่าแก่นายเสือป่าชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน

3.ชั้นยศพระตำรวจเอกเดิมเป็นยศเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นชั้นยศในฐานะพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระตำรวจในกรมพระตำรวจหลวงรักษาพระองค์ ภายหลังมีการพระราชทานยศให้สมุหพระตำรวจหลวงหลายท่าน อาทิเช่น พระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) , พระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) เป็นต้น

4.เครื่องแบบเต็มยศข้าราชการพลเรือนและข้าราชการในราชสำนักจะติดเครื่องหมายยศไว้ที่ข้อมือ

5.สำหรับทหารบกเหล่าสนับสนุนการช่วยรบ เช่น เหล่าแพทย์, เหล่าบัญชี จะติดอินทรธนูขวางที่ปลายบ่าเหมือนข้าราชการพลเรือน

6.ข้าราชการในราชสำนักและกรมมหาดเล็ก เครื่องแบบปกติจะติดเครื่องหมายยศบริเวณแผงคอเสื้อ

7.ชื่อยศภาษาอังกฤษปรากฏในเอกสาร ภาพถ่าย รวมถึงคำทับศัพท์ในสมัยนั้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เช่น มหาอำมาตย์นายก, มหาอำมาตย์เอก เป็นต้น

8.ชั้นยศนายหมู่ใหญ่เสือป่าเป็นยศชั้นสัญญาบัตร

9.สำหรับราชนาวีเสือป่า มียศสูงสุดที่ นายกองเอกเท่านั้น

10.ยศกองเรือท่าเกษมมีผู้ที่ได้รับยศ นายกองเรือใหญ่เพียง 1 ท่านคือ นายกองเรือใหญ่ เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)